วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีการดูแลรักษาเนื้อไม้


วิธีการดูแลรักษาเนื้อไม้


      เนื่องจากไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ  ดังนั้นย่อมชำรุดเสียหายไปตามธรรมชาติ  สภาพแวดล้อม แสงแดด ความชื้น การกัดกินของแมลง  ดังนั้นการดูแลรักษาที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็น ไม้ที่ได้รับการปกป้องดูแลที่ดี สามารถใช้งานได้หลายชั่วอายุคนไม้ที่แปรรูปออกจากโรงเลื่อย  ดูไม่น่าสนใจ จนเมื่อผ่านกระบวนการทำสีและตกแต่งผิวแล้ว จึงขับความสวยงาม และคุณค่าที่มีอยู่ในเนื้อไม้ได้เด่นชัด  ในสมัยก่อนช่างไม้ได้นำเอาวัสดุธรรมชาติ เช่นขี้ผึ้ง น้ำมันจากไม้บางชนิด มาใช้ตกแต่งผิว ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นวัสดุทั้งจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์ที่ดีนำมาใช้เคลือบผิวและตกแต่งสี ทำให้เพิ่มคุณค่าทั้งความงามและสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การป้องกันและรักษาเนื้อไม้
ความทนทาน จำแนกความเสียหายได้ 4 อย่างต่อไปนี้
1.ทางชีวภาพ ได้แก่ความเสียหายที่เกิดจากเชื้อรา แมลง
2.ทางฟิสิกส์ ได้แก่ความเสียหายที่เกิดจากถูกความร้อน ความชื้น การยืด หดตัว แตก ร้าวปริ และโดยการกระทำของสภาพอากาศ
3.ทางกล ได้แก่การเสียดสี เหยียบย่ำ การแตกหักเพราะมีน้ำหนักกระทำ
4.ทางเคมี ได้แก่การถูกกรด ด่าง การเติมออกซิเจน และถูกไฟไหม้
การเสียหายจากสาเหตุแรกนั้นเป็นความเสียหายที่สามารถป้องกันได้โดยใช้ตัวยา รักษาเนื้อไม้ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตัวการทั้งสามที่ทำให้เนื้อไม้ผุพัง ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก ไม้ที่ทนทานต่อการทำลายโดยไม่ต้องอาศัยน้ำยารักษาเนื้อไม้ เรียกว่าเป็นไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติ ตัวยารักษาเนื้อไม้ คือสารเคมีที่เป็นพิษต่อตัวการทำลายไม้ ซึ่งได้แก่ เชื้อรา แมลง และเพรียง ดังกล่าวแล้วข้างต้น โดยปกติแล้วยารักษาเนื้อไม้จะต้องเป็นของเหลวเพื่อให้ซึมผ่านเนื้อไม้ได้ สะดวก จะเป็นในรูปสารเคมีผสมสารละลาย หรือเป็นน้ำมันผสม หรือเป็น

สารเคมีที่สะลายน้ำก็ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
  
1.ครีโอโสต หรือสารผสมที่ได้จากน้ำมันดินถ่านหิน มีประสิทธิภาพสูง ไม่ละลายน้ำ ติดกับไม้ได้นานมาก ช่วยให้ไม้ไม่แตกร้าว ไม่กัดโลหะ ใช้กับงานที่ต้องการความคงทนมากๆเช่น ไม้หมอนรถไฟ ไม้เสาไฟฟ้า ปกติใช้วิธีการอัดแบบไม่เต็มเซลล์ มีข้อเสียคือมีกลิ่นรุนแรง ทาสีทับไม่ได้ มีสีดำ
   2.สารเคมีผสมสารละลายประเภทน้ำมัน เช่น Tanalith T (เป็นสารเคมีประเภทละลายในน้ำมันซึ่งมีสารออกฤทธิ์เป็น Permethrin สามารถใช้วิธีการจุ่ม พ่นหรือทาได้)
   3.สารเคมีผสมน้ำ ที่ใช้กันอยู่ในบ้านเราเช่น สารพวก Boron Compound (น้ำยาอัดขาว) , CCA:Copper Crome Asenic (น้ำยาอัดเขียว) ปกติแล้วการใช้สารพวก Boron Compound ใช้กันมากกับการรักษาเนื้อไม้พวกไม้ยางพารา ไม้เนื้ออ่อน ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ประเภทใช้งานภายใน โดยอัดให้มีปริมาณน้ำยาตกค้าง ที่ 0.2 % BAE ส่วน CCA ใช้กับไม้ที่ต้องการทนแดดทนฝนเป็นพิเศษ เพราะมีการยึดติดกับเนื้อไม้ได้ดี โดยปกติจะใช้วิธีการอัดแบบเต็มเซลล์

คุณสมบัติของยารักษาเนื้อไม้
1.ปลอดภัย หรือเป็นอันตราบต่อผู้ใช้น้อยทีสุด
2.มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นพิษกับตัวการทำลายไม้
3.คงทน อยู่ในเนื้อไม้ได้นาน
4.ค่าใช้จ่ายไม่สูง คุ้มกับความต้องการรักษาเนื้อไม้

ขั้นตอนในการทำสี และ ตกแต่งผิวไม้ ขั้นตอน ในการทำสีและตกแต่งผิว จะต้องพิถีพิถัน  พื้นผิวต้องสะอาด ขัดผิวอย่างดี ปราศจากรอยตำหนิ  ขั้นตอนการทำสีและตกแต่งผิวมีหลายแบบ ดังนี
- การย้อมสีด้วยน้ำยา วู๊ดสเตน ป้องกันแสงแดด และน้ำซึมเข้าเนื้อไม้
- การตกแต่งผิวด้วยน้ำยา  วาร์นิช แล็กเกอร์ เชลแลก เพื่อขับลายไม้
ขั้นตอนการเตรียมผิวก่อนทาน้ำยา
ก่อนจะทาน้ำยา ต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบ  วัสดุที่นำมาเตรียมพื้นผิวควรใช้ให้เหมาะสมได้แก่  

ดินสอพอง  มีลักษณะดินสีขาว เป็นก้อนหรือเป็นผง ผสมกับน้ำเพื่อให้นิ่ม  ใช้อุดร่องเสี้ยน หรือลงพื้น
สารกันซึมหรือซีลเลอร์  ใช้เคลือบรองพื้นวัสดุที่มีรูพรุน หรือใช้เคลือบวัสดุที่อาจปล่อยสารบางประเภท ออกมาทำให้ฟิลม์ของวัสดุเคลือบเสียหาย สารกันซึมถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เดิมช่างใช้เชลแล็กเป็นตัวเคลือบผิว
ฟิลเลอร์  ทำ หน้าที่คล้อยดินสอพองอุดร่องไม้และอุดรอยแตกต่างๆ สามารถผสมกับสีย้อม สีฝุ่น ดินสี เพื่อให้ได้สีตามต้องการ สามารถขัดถูด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวเรียบได้ง่าย


ขั้นตอนการเลือกใช้วัสดุพื้นผิว มื่อเตรียมพื้นผิวได้ดีแล้ว ก็เลือกใช้วัสดุเคลือบผิวที่จะทำให้ไม้สวยงามและทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ ได้แก่
 แลกเกอร์  มีทั้งชนิดเงาและด้าน  ใช้งานง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ และการขูดขีด
 เชลแล็ก เป็นน้ำยาทาไม้ชนิดหนึ่งให้ความสวยงาม ทนทา
วาร์นิช หรือน้ำมันชักเงา ใช้ทาชิ้นงานเพื่อให้เกิดเงางาม ใส สวยงาม มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน

ไม่มีความคิดเห็น: