วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ไผ่รวก

 
 
ไผ่รวก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์     Thyrsostachys Siamensis Gambleฟ
ชื่อวงศ์  Gramineae
ชื่อสามัญ   -
ชื่อทางการค้า   -
ชื่อพื้นเมือง  ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะลอม (ชาน แม่ฮ่องสอน) ฮวก (ภาคเหนือ)

    
ขึ้นเป็นกอแน่น ลำต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน ที่ปลายลำมีเนื้อบาง ถ้าพบในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-7 ซม. ถ้าพบในที่แห้งแล้งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. ลำมีสีเขียวอมเทา ปล้องจะยาวประมาณ 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อจะหนา กาบหุ้มลำยาวประมาณ 22-28 ซม. กว้างประมาณ 11-20 ซม. กาบมักจะติดต้นอยู่นาน สีเป็นสีฟาง ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว มีร่องเป็นแนวเล็ก ๆ สอบขึ้นไปหาปลาย ซึ่งเป็นรูปที่ตัดเป็นลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยม อาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้ กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ ใบยอดกาบยาวประมาณ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า

                        รูปทรง (เรือนยอด)   -
                        ใบ    ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ยาว    7-22 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน เส้นลายใบ 4-6 เส้น ขอบใบสากและคม ก้านใบสั้น 0.5 ซม. ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ 2-3 อัน กาบใบแคบไม่มีขน นอกจากตามขอบอาจจะมีขนอ่อน  
                        ดอก  จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน   ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง  
                        หน่อ    หน่อใช้รับประทานได้ ที่นิยมคือใช้ทำซุปหน่อไม้
 
      
พบในบริเวณประเทศพม่า และไทย พบทุกภาคของประเทศไทย ชอบขึ้นในที่แล้ง หรือที่สูงบนภูเขา อากาศร้อน ไม่ชอบน้ำขัง ชอบดินระบายน้ำดี พบมากที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี 

    
  การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า   ไผ่รวกสามารถให้ผลผลิตเมล็ด ได้จำนวนมากในแต่ละปี การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจะได้กล้าปริมาณมาก เพราะเมล็ดไผ่รวก 1กิโลกรัมมีจำนวนเมล็ดมากถึง 50,300 เมล็ดและสามารถขยายพันธุ์โดยแยกเหง้าได้ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และได้ปริมาณจำกัด นอกจากนี้ยังสามารถทำการปักชำเหง้าค้างปีได้ ซึ่งเหง้าค้างปีเป็นเหง้าของกล้าไผ่อายุ 2-5 ปีที่งอกจากเมล็ดในสภาพธรรมชาติ เป็นเหง้าที่มีขนาดเล็ก มีปริมาณมาก การปักชำเหง้าค้างปีจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการแยกเหง้าขนาดใหญ่มาก และกล้าไผ่ที่ได้สามารถตั้งตัวและเจริญเติบโตได้เร็วกว่ากล้าที่เพาะจากเมล็ด ประมาณ 3 เท่า ซึ่งเมล็ดไม้ไผ่รวกส่วนมากจะสั้น หากเก็บไว้นานๆ เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงเรื่อยๆ เช่น เมล็ดที่เก็บไว้นานประมาณ 7 เดือน ในสภาพธรรมชาติเมื่อนำมาเพาะปรากฏว่าไม่งอกเลย ทั้งที่มีเมล็ดดีถึง 96 เปอร์เซ็นต์
  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก 
                        ดิน  -
                        ความชื้น -
                        แสง   -
  การปลูกดูแลบำรุงรักษา    หากพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในแปลงปลูกไม้ไผ่ ก็ควรใช้สารเคมี บางชนิดกำจัดเป็นคราว ๆ ไป สารเคมีที่นิยมใช้กำจัดโรคและแมลง ได้แก่พวก มาลาไธออน , เซฟวิน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้าก็สามารถกำจัดและป้องกันได้ หรือใช้จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ตัวห้ำ , ตัว เบียฬ เข้าทำลายโรคและแมลงด้วยกันเอง เช่น เมคโตสตีฟ ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งผสมน้ำพ่นตาม ใบ 
                       การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก   ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ  ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง   
                        วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม      ระยะเวลาที่เหมาะต่อการปลูกไผ่อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝนจึงลดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย  สำหรับ ระยะปลูกและจำนวนกล้าไผ่ต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 4 x 4 เมตร หรือประมาณ 100 กอต่อไร่ หลุมที่ปลูกมีขนาดประมาณ 30 x  30 x  50 เซนติเมตร ในการปลูกไผ่ขนาดเล็กควรรองก้น หลุมด้วยปุ๋ยคอกเพื่อช่วยให้มีการเจริญเติบโตดี และอัตราการรอดตายสูงขึ้นด้วย
  โรคและแมลง     แมลงประเภทเจาะไชหน่อและปล้องอ่อนได้แก่แมลงจำพวก ด้วง , ด้วงงวงปีกแข็ง , แมลงประเภทกัดกินใบและประเภทม้วนใบ เป็นแมลงที่ชอบกัดกินใบและม้วนใบ เพื่อเป็นที่หลบซ่อนตัว และเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้ ได้แก่ หนอนผีเสื้อกลางคืน , แมลงประเภท เจาะไชใบ ได้แก่ หนอนผีเสื้อขนาดเล็ก , แมลงประเภทเพลี้ยแป้ง ชอบเกาะอยู่ตามหน่ออ่อนหรือตามใบ อ่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยง
  อัตราการเจริญเติบโต    เมื่อเริ่มปลูกไผ่ในระยะแรกต้นไผ่จะยังไม่โต แต่จะแตกกิ่งก้านและ ใบเพื่อการสะสมอาหาร เมื่อสะสมอาหารเต็มที่แล้ว ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหน่ออ่อน ก็จะแตกตาจากเหง้าใต้ดิน แต่ยังมีขนาดเล็กกว่าขนาดปกติของไผ่ชนิดนั้น ซึ่งใช้ ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี เมื่อไผ่เจริญเติบโตเป็นกอเต็มที่แล้วก็จะแตกหน่อใหม่ทุกปี ขนาดของหน่ออ่อนจะโตเท่ากับลำ แม่ในกอ ไผ่ที่มีลำและกอขนาดใหญ่สามารถสะสมอาหารได้มากกว่า หน่อไผ่จะเจริญเติบโตตลอดวัน
 
                       การเก็บรักษา   ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีธรรมชาติและวิธีเคมี  วิธีธรรมชาติ คือ โดยการแช่น้ำและการใช้ ความร้อน  การแช่น้ำเป็นวิธีป้องกันมอดเจาะที่ทำกันแพร่หลายทั้งยังเป็นการถนอมรักษาไม้ไผ่อย่าง ง่าย ๆ แต่ได้ผลดีพอสมควร เพื่อให้แป้ง น้ำตาล  และสารละลายน้ำอื่น ๆ ถูกชะล้างออกไปจนแมลงไม่ สนใจใช้เป็นอาหาร วิธีนี้ทำได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำให้ท่วม ถ้าเป็นน้ำไหล ได้ยิ่งดี หรือแช่ในน้ำเค็มก็ได้ถ้าบริเวณนั้นไม่มีเพรียงอยู่ด้วย เพราะเพรียงจะเกาะไม้ไผ่ภายในระยะ เวลาอันสั้น นอกจากนี้ ถ้าน้ำไม่สะอาดพอก็จะทำให้ไม้ไผ่นั้นสกปรกตามไปด้วย ระยะเวลาการแช่น้ำ ไม้ไผ่สดแช่ตั้งแต่ 3 วันถึง 3 เดือน ส่วนไม้ไผ่แห้งจะได้ผลดีที่สุดต้องเพิ่มเวลาอีกไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์  การสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ไม้ไผ่จะต้องนำมาสกัดน้ำมันออกก่อนที่จะนำไปลงน้ำยาป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ เพื่อให้การลงน้ำยาได้ผลจริง ๆ ซึ่งประโยชน์จากการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ คือทำให้ไม้ ไผ่แข็งแรงทนทาน มีผิวภายนอกสวยงาม ก่อนนำไม้ไผ่ที่ตัดแล้วมาสกัดน้ำมัน ควรตั้งพิงเอาโคนขึ้น ข้างบน หรือวางกองบนม้านั่งในที่ร่ม เพื่อมิให้ไม้ไผ่แห้งเร็วเกินไป และควรผึ่งไว้ประมาณ 1 เดือน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้ 2 วิธี คือ ให้ความร้อนด้วยไฟและด้วยการต้ม ทั้ง 2 วิธีนี้เรียกว่า ทำ การผ่านให้ความร้อนดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "ไผ่สุก" ซึ่งมีประโยชน์ที่จะใช้ในการก่อสร้างและ อุตสาหกรรมประเภทศิลปะ เมื่อคำนึงถึงของการผ่านกรรมวิธีเพื่อรักษาเนื้อไม้นั้นแล้ว จึงเห็นว่าวิธีให้ ความร้อนด้วยไฟทำให้ไม้ไผ่แข็งแรงและแข็งแกร่ง โดยการเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟ ซึ่งอาจใช้ถ่านไม้ หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ระวังอย่าให้ไหม้ไฟ และรีบขัดน้ำมันที่เยิ้มออกจากผิวให้หมดเพราะเมื่อ เย็นลงแล้วจะเช็ดไม่ออก ส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนนั้นใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในอุณหภูมิ 120-130 องศาเซลเซียส การให้ความร้อนอาจกระทำซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ความร้อนกระจาย ได้ทั่วถึง เพราะการให้ความร้อนครั้งเดียวมาก ๆ อาจทำให้ไม้แตกได้  ส่วนการให้ความร้อนโดยการ ต้มจะทำให้เนื้อไม้ ไผ่อ่อนนุ่ม โดยการต้มในน้ำธรรมดาเท่านั้น ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เนื่องจาก วิธีนี้ความร้อนจะต่ำกว่าการสกัดความร้อนด้วยไฟ แต่ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจก็อาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัม หรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที หลังจากต้ม เสร็จแล้วให้รีบเช็ดน้ำมันที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นแล้วจะเช็ดไม่ออกจากนั้น ล้างน้ำให้สะอาดและทำให้แห้งต่อไป การรมควันไม้ไผ่ เป็นวิธีง่าย ๆ โดยการรมควันผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ด้วยกำมะถัน ในห้องที่ปิดสนิทประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้ในห้องอีก 1 วันจึงนำออกจำหน่ายหรือใช้ งานต่อไป หรือใช้รมควันด้วยหญ้าหรือฟางข้าวให้มีควันขึ้นสม่ำเสมอ วิธีนี้ต้องคอยระวังอย่าให้ ผลิตภัณฑ์ไหม้ไฟ ดังนั้น  จึงควรเลือกเอาวิธีที่พอเหมาะพอดีกับความประสงค์ที่จะใช้งาน ทั้งในแง่ ของการคุณภาพและขนาดของการผลิต  วิธีเคมี คือ เป็นการใช้สารเคมีอาบหรืออัดเข้าไปในเนื้อไม้ วิธี นี้สามารถรักษาเนื้อไม้ไผ่ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าวิธีธรรมชาติ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ โดยการจุ่ม ปกติจะใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่นาที ซึ่งดีกว่าวิธีทาหรือพ่น เพราะสิ้นเปลืองน้ำยาน้อย กว่า ใช้ได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยจุ่มในน้ำยาดีดีทีเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำมันก๊าดนานประมาณ 10 นาที จะป้องกันเนื้อไม้ไผ่ได้นานถึง 1 ปี แต่ถ้าจุ่มให้นานขึ้นจะสามารถทนได้ยาวนานถึง 2 - 2 1/2 ปี การอาบน้ำยาแบบนี้สำหรับไม้ไผ่ที่ใช้งานชั่วคราว ไม้ไผ่ที่ใช้ในที่ร่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทาสี เสร็จแล้วทาน้ำมันชักเงาทับอีกที  โดยการทา น้ำยาจะซึมเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่โดยผ่านทางผิวไม้ไผ่   จะ ซึมมากน้อยเพียงใดย่อมแล้วแต่ชนิดของไม้ไผ่ที่อาบน้ำยา สารเคมีที่ใช้สำหรับป้องกันมอดและแมลงมี ัดังนี้ คอปเพอร์ซัลเฟต จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 30 นาที , ซิงค์ซัลเฟต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , ลีดแอซีเตต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , บอแรกซ์ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซดา ไฟ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 6 นาที , สารส้ม จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 6 นาที , แนปทาลีนคลอไรด์ จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที , แพนทาโคลโรฟีโนล จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซเดียมคาร์ บอเนต จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที  โดยการแช่ด้วยน้ำยาเชลล์ไดรต์ วิธีนี้ง่ายและเสียค่าใช้จ่าย น้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือ เสียเวลานาน ส่วนผสมน้ำยาเชลล์ไดรต์ 3 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ไม้ไผ่ไว้ ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากแช่น้ำยาแล้วนำออกผึ่งแดดให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้งานต่อไป (ถ้าไม้ไผ่สด ต้องใช้เวลาแช่นานกว่าไม้ไผ่แห้ง 1 เท่าตัว)  โดยการฟอกขาว คือ ไม้ไผ่ที่ผ่านการให้ความร้อนและ สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว จะปรากฏเป็นสีเหลือง เมื่อต้องการให้ผิวไม้ไผ่เป็นสีขาวหรือย้อมสีให้สวย มีวิธี ปฏิบัติ ดังนี้  ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซค์ 40 กรัม โซเดียมซิลิเคต 4 กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 กรัม นำโซเดียมซิลิเคตผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำอุ่น 700 ซีซี และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ผสมให้ เข้ากัน นำไม้ไผ่ลงไปต้มในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นานประมาณ 20-40 นาที หลังจากนั้นผสม กรดแอซีติก 5 ซีซี กับน้ำ 500 ซีซี แช่ไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำ
                       การแปรรูป  นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน หรือใช้ในการตบแต่งบ้านเพราะไผ่รวกมีความสวยงามขึ้นเป็นกอ ลำเรียวเปลา ตรง กิ่งใบน้อย และอยู่เฉพาะตอนปลายของลำเท่านั้น ในด้านอุตสาหกรรมเหมาะสำหรับใช้ทำเยื่อกระดาษ เพราะเยื่อไม้ไผ่รวกมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ลำที่ยังสดอยู่สามารถนำมาดัดให้ตรงได้โดยใช้ความร้อน ลำไผ่รวกที่ผ่านการคัด ดัด ตรง และขัดผิวแล้ว มีการส่งเป็นสินค้าออกสำหรับเป็นไม้ค้ำพืชหน่อทางการเกษตร เช่น องุ่น หน่อเมื่อปอกทำความสะอาดหน่อแล้ว ต้มอัดใส่ปี๊บทำให้มีการทำหน่อไม้ปี๊บออกจำหน่ายปีละหลายร้อยล้านบาทจากป่าต่าง ๆ ทั่วประเทศ 

                       การตลาด  -
                       การบริโภค  -
                       การนำเข้า -
                       การส่งออก  -


                     
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้  -

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์   -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์  -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ  -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร -
 
   
การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย  หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น 

    

ไม่มีความคิดเห็น: