วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

รอบรู้เรื่องไม้

คลังความรู้

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

การดูแล และยืดอายุเฟอร์นิเจอร์

การดูแล และยืดอายุเฟอร์นิเจอร์

การดูแล และยืดอายุเฟอร์นิเจอร์


ของใช้ และตกแต่งบ้าน ที่เรียกรวมๆว่า “เฟอร์นิเจอร์ ” ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ตู้ เตียง หรือโคมไฟต่างๆ ที่เราขวนขวาย ซื้อหามาใช้ และตกแต่งบ้าน ด้วยสนนราคาที่สูง ถ้าต้องการที่จะใช้มันให้คุ้มค่า อยู่ไปได้นานคู่กับบ้านของเรา เราต้องไม่มองข้ามเรื่องการดูแลรักษา เพื่อให้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นอยู่กับเราไปนานๆได้

แต่ว่า “เฟอร์นิเจอร์”แต่ละประเภท ก็มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันไป ตามวัสดุที่ทำ และคุณสมบัติ ของวัสดุนั้นๆ การดูแลรักษา จึงต้องมีวิธีการ และอุปกรณ์ ที่ต่างกันไปด้วย ได้แก่


1. เฟอร์นิเจอร์ไม้

ไม้ นับเป็นวัสดุที่ถูกนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งบ้านมากที่สุด ทั้งโต๊ะ ตู้ เตียง และเครื่องเรือนอื่นๆ ซึ่งชนิดของไม้ที่นำมาทำนั้นก็มีอยู่หลายประเภท ตั้งแต่ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพง เพราะไม้หายาก ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ผลิตก็คือไม้เนื้ออ่อนอย่างไม้ยางพารา ผู้ซื้อก็นิยมเพราะมีราคาถูก สีสวย







นอก จากการทำความสะอาดเช็ดถูกำจัดฝุ่นตามปกติ เพื่อไม่ให้แมลงมาอาศัยเจาะกินเนื้อไม้ได้แล้ว เรายังควรหลีกเลี่ยง อย่าให้เฟอร์นิเจอร์ไม้ถูกแสงแดด แสงสปอตไลท์โดยตรง รวมทั้งระวังรอยขีดข่วนจากข้าวของที่วางบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ และรอยหยดน้ำต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความงามของเนื้อไม้ทั้งสิ้น

เฟอร์นิเจอร์ จำพวกโต๊ะทั้งหลาย ที่ใช้วางสิ่งของ จึงควรจัดหาแผ่นรองแก้ว หรือหาผ้า มาวางรองสิ่งของอื่นๆ เพื่อไม่ให้สัมผัสกับพื้นผิวของไม้โดยตรง ไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน หรือด่างดวง แต่ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ และเฟอร์นิเจอร์เป็นรอยขีดขวนขึ้นมา ให้ใช้ผ้าแตะยาขัดรองเท้าสีเดียวกับไม้ ถูตรงรอยนั้น แล้วใช้ผ้าแห้งขัดอีกครั้ง หรือใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำมันชักเงา ถูตรงรอยขีดข่วนจนกระทั่งรอยหายไปก็ได้ (ที่จริงรอยขีดข่วนไม่ได้หายไป เพียงแต่ยาขัดรองเท้าจะทำให้ร่องรอยนั้น มีสีกลมกลืนไปกับไม้นั่นเอง)




2. เฟอร์นิเจอร์หนัง

เฟอร์นิเจอร์ หนัง เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในเกือบทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็น ชุดโซฟารับแขก หรือเก้าอี้ มีทั้งหนังแท้ ราคาแพง (แต่ก็ทนทานกว่า) และหนังเทียมที่ราคาย่อมเยาว์ โดยหนังจะหุ้มอยู่ด้านนอก ส่วนภายในใช้ฟองน้ำหรือฟองยางเสริม เพื่อความนุ่มนวลรู้สึกสบายเวลานั่ง และอาจเพิ่มสปริงเพื่อทำให้เกิดการยืดหยุ่น







การ ทำความสะอาดโดยทั่วไป เราจะใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดถู และบางครั้งเราอาจใช้น้ำยาขัดเงา เคลือบที่ผิวเฟอร์นิเจอร์ก่อน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกอีกทางหนึ่ง และหากมีรอยเปื้อนก็สามารถเช็ดออกได้ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำสบู่อ่อนๆ ถูเบาๆ จนออกหมด




3. เฟอร์นิเจอร์หวาย

เครื่อง หวาย เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ให้ความรู้สึกสบาย ลวดลายถักสานดูสวยงามเป็นธรรมชาติ หลายคนมองว่าทำความสะอาดยาก เพราะมีซอกมุมมากมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วเพียงเรามั่นปัดฝุ่นด้วยไม้ขนไก่ หรือใช้ผ้าชุบน้ำมาดๆ เช็ดอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้เฟอร์นิเจอร์หวายอยู่กับเราได้นานขึ้นแล้ว บางทีหวายที่ถักสาน เริ่มหลุดออกมา ก็ให้รีบเสียบหรือสาบกลับเข้าไปและติดกาวให้แน่น อย่าปล่อยไว้นาน จะหลุดหมดและซ่อมยาก








แต่ ที่ต้องระวังจริงๆ คงเป็นพวกมอด ปลวก ที่อาจกัดทำลายเนื้อหวายได้ สำหรับกรณีที่มีมอดหรือปลวกขึ้น เราสามารถกำจัดได้ โดยการฉีดน้ำมันก๊าดหรือดีดีทีเข้าไปในรูที่มอดเจาะ ทิ้งไว้และฉีดซ้ำอีกครั้ง

อีกหนึ่งวิธีที่ป้องกันได้ก็คือ การวางเฟอร์นิเจอร์หวายไว้ในที่ที่เหมาะสม คือไม่วางตากแดดและไม่วางบริเวณที่ชื้นเกินไปนั่นเอง และถ้าต้องการให้เก้าอี้หวายกลับมาตึงเหมือนเดิม ก็สามารถทำได้โดยการล้างเก้าอี้หวายด้วยน้ำสบู่ร้อน แล้วล้างน้ำจนหมดสบู่ (แต่อย่าให้ถูกน้ำนาน ต้องล้างอย่างรวดเร็ว) จากนั้นนำออกตากแดดกลางแจ้งให้แห้ง เพียงเท่านี้เส้นหวายที่หย่อนคล้อยก็จะกลับมาตึงเหมือนเมื่อแรกซื้อ





4. เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่

เป็น เฟอร์นิเจอร์ที่ให้ความรู้สึกสบาย เป็นกันเอง เช่นเดียวกับหวาย แข็งแรงกว่า แต่ความทนทาน ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา เช่นเดียวกับหวาย เพราะต้องคอยระวังพวกมอด ปลวก ที่อาจกัดทำลายเนื้อไม้ได้ เมื่อมีมอดหรือปลวกขึ้น เราสามารถกำจัดได้โดยการฉีดน้ำมันก๊าดหรือดีดีทีเข้าไปในรูที่มอดเจาะ ทิ้งไว้และฉีดซ้ำอีกครั้ง








ส่วน ตัวเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ก็ต้องใช้งานเหมือนเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพราะมีการเคลือบผิวให้สวยงาม ทนทาน ต้องระวังการขูดขีด เป็นรอย เช่นดียวกัน





5. เฟอร์นิเจอร์ผ้า

หนึ่ง ในเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มความคลาสสิคให้กับบ้าน ก็คือเฟอร์นิเจอร์ผ้า ด้วยเพราะมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย และสีสันสวยงาม โดยผืนผ้านั้นจะเป็นตัวห่อหุ้มด้านนอก ด้านในถูกบุด้วยนวม (เหมือนเฟอร์นิเจอร์หนัง) แต่เวลาใช้งานให้ความรู้สึกสบาย มากกว่าหนัง เพราะถ่ายเทอากาศได้ดีนั่นเอง







แต่ อย่างไรก็ตาม ในความงามนั้นก็แฝงด้วยข้อด้อยบางประการ โดยเฉพาะปัญหาความสกปรกที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราผ้าเปื้อนง่าย และเก็บฝุ่นได้ดี (จะไม่เหมาะกับบ้านที่มีเด็กๆ) ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นทำความสะอาด โดยใช้แปรงหรือเครื่องดูดฝุ่นอยู่เป็นประจำ เพื่อไม่ให้ไรฝุ่นเกาะตัวจนเกิดเป็นคราบสกปรก เมื่อซื้อมาใหม่ๆ จึงควรเคลือบน้ำยาป้องกันน้ำซึมที่เฟอร์นิเจอร์เสียก่อน

แต่ถ้ามี รอยสกปรกแล้ว วิธีแก้ไขให้ผสมน้ำกับผงซักฟอกตีจนเกิดฟอง ใช้ฟองน้ำชุบฟองนั้น นำมาวางบนรอยสกปรก แล้วใช้ฟองน้ำแห้งๆ เช็ดถูจนคราบหลุดออกไป จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดอีกครั้ง และเป่าให้แห้งด้วยเครื่องเป่าผมหรือพัดลม และเพื่อยืดอายุการใช้งานในยาวขึ้น ในหนึ่งปีเราควรส่งร้านทำความสะอาดสักครั้ง และควรเคลือบน้ำยาป้องกันน้ำซึมที่เฟอร์นิเจอร์ด้วย





6. เฟอร์นิเจอร์โลหะ

หาก เราต้องการความแข็งแรง และทนทานต่อการใช้งาน เฟอร์นิเจอร์โลหะ จะตอบสนองต่อความต้องการข้อนี้ ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะตู้เก็บเอกสารที่มักเห็นในสำนักงานส่วนใหญ่






สิ่ง แรกของการดูแลก็คือ ทำให้เฟอร์นิเจอร์แห้งอยู่เสมอ และไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์โลหะในที่เปียกชื้น (เฟอร์นิเจอร์โลหะ ก็มีข้อเสียด้วย เพราะไม่เหมาะกับบริเวณใกล้กับทะเล เพราะไอที่เกิดจากทะเลอาจทำลายผิวโลหะได้) นอกจากนี้ยังต้องระวังไม่ให้สารละลายประเภท กรด หรือด่างเข้มข้นหกใส่ เพราะสารเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากัดกร่อน ส่งผลให้สี หรือผิวโลหะร่อนออก หรือเป็นรอย แต่ถ้าพลาดโดนแล้วก็ควรใช้ผ้าเช็ดออกทันที




7.เฟอร์นิเจอร์พลาสติก พีวีซี หรือไฟเบอร์

เป็น เฟอร์นิเจอร์ ที่ราคาถูก ไม่ทนทาน การใช้งานต้องระวังมาก พวกเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กลางแจ้ง (ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์พลาสติก คือโดนน้ำได้ ตากแดดได้) ถึงทนน้ำ ทนแดด แต่ก็ไม่ทนทาน ถ้าไม่หมั่นเช็ดถู ก็จะเป็นคราบดำจับ ไม่สวย ต้องหมั่นดูแล หรือเก็บในที่ร่มก่อน เวลาจะใช้ค่อยเอาไปวาง อย่าตั้งตากแดดไว้เลย จะไม่ทนทาน







ถ้า เรา รู้จักวิธีใช้งาน และหมั่นดูแลเฟอร์นิเจอร์ ของเราแล้ว เราก็จะสามารถใช้งานมัน ไปได้นาน ตลอดไป.... (ไม่ต้องเปลี่ยน หรือเสียเงินซื้อบ่อยๆ จะได้เก็บเงินไว้ใช้อย่างอื่นได้อีกมากมาย หลายอย่าง)

วิธีการดูแลรักษาเนื้อไม้


วิธีการดูแลรักษาเนื้อไม้


      เนื่องจากไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ  ดังนั้นย่อมชำรุดเสียหายไปตามธรรมชาติ  สภาพแวดล้อม แสงแดด ความชื้น การกัดกินของแมลง  ดังนั้นการดูแลรักษาที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็น ไม้ที่ได้รับการปกป้องดูแลที่ดี สามารถใช้งานได้หลายชั่วอายุคนไม้ที่แปรรูปออกจากโรงเลื่อย  ดูไม่น่าสนใจ จนเมื่อผ่านกระบวนการทำสีและตกแต่งผิวแล้ว จึงขับความสวยงาม และคุณค่าที่มีอยู่ในเนื้อไม้ได้เด่นชัด  ในสมัยก่อนช่างไม้ได้นำเอาวัสดุธรรมชาติ เช่นขี้ผึ้ง น้ำมันจากไม้บางชนิด มาใช้ตกแต่งผิว ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นวัสดุทั้งจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์ที่ดีนำมาใช้เคลือบผิวและตกแต่งสี ทำให้เพิ่มคุณค่าทั้งความงามและสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การป้องกันและรักษาเนื้อไม้
ความทนทาน จำแนกความเสียหายได้ 4 อย่างต่อไปนี้
1.ทางชีวภาพ ได้แก่ความเสียหายที่เกิดจากเชื้อรา แมลง
2.ทางฟิสิกส์ ได้แก่ความเสียหายที่เกิดจากถูกความร้อน ความชื้น การยืด หดตัว แตก ร้าวปริ และโดยการกระทำของสภาพอากาศ
3.ทางกล ได้แก่การเสียดสี เหยียบย่ำ การแตกหักเพราะมีน้ำหนักกระทำ
4.ทางเคมี ได้แก่การถูกกรด ด่าง การเติมออกซิเจน และถูกไฟไหม้
การเสียหายจากสาเหตุแรกนั้นเป็นความเสียหายที่สามารถป้องกันได้โดยใช้ตัวยา รักษาเนื้อไม้ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตัวการทั้งสามที่ทำให้เนื้อไม้ผุพัง ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก ไม้ที่ทนทานต่อการทำลายโดยไม่ต้องอาศัยน้ำยารักษาเนื้อไม้ เรียกว่าเป็นไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติ ตัวยารักษาเนื้อไม้ คือสารเคมีที่เป็นพิษต่อตัวการทำลายไม้ ซึ่งได้แก่ เชื้อรา แมลง และเพรียง ดังกล่าวแล้วข้างต้น โดยปกติแล้วยารักษาเนื้อไม้จะต้องเป็นของเหลวเพื่อให้ซึมผ่านเนื้อไม้ได้ สะดวก จะเป็นในรูปสารเคมีผสมสารละลาย หรือเป็นน้ำมันผสม หรือเป็น

สารเคมีที่สะลายน้ำก็ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
  
1.ครีโอโสต หรือสารผสมที่ได้จากน้ำมันดินถ่านหิน มีประสิทธิภาพสูง ไม่ละลายน้ำ ติดกับไม้ได้นานมาก ช่วยให้ไม้ไม่แตกร้าว ไม่กัดโลหะ ใช้กับงานที่ต้องการความคงทนมากๆเช่น ไม้หมอนรถไฟ ไม้เสาไฟฟ้า ปกติใช้วิธีการอัดแบบไม่เต็มเซลล์ มีข้อเสียคือมีกลิ่นรุนแรง ทาสีทับไม่ได้ มีสีดำ
   2.สารเคมีผสมสารละลายประเภทน้ำมัน เช่น Tanalith T (เป็นสารเคมีประเภทละลายในน้ำมันซึ่งมีสารออกฤทธิ์เป็น Permethrin สามารถใช้วิธีการจุ่ม พ่นหรือทาได้)
   3.สารเคมีผสมน้ำ ที่ใช้กันอยู่ในบ้านเราเช่น สารพวก Boron Compound (น้ำยาอัดขาว) , CCA:Copper Crome Asenic (น้ำยาอัดเขียว) ปกติแล้วการใช้สารพวก Boron Compound ใช้กันมากกับการรักษาเนื้อไม้พวกไม้ยางพารา ไม้เนื้ออ่อน ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ประเภทใช้งานภายใน โดยอัดให้มีปริมาณน้ำยาตกค้าง ที่ 0.2 % BAE ส่วน CCA ใช้กับไม้ที่ต้องการทนแดดทนฝนเป็นพิเศษ เพราะมีการยึดติดกับเนื้อไม้ได้ดี โดยปกติจะใช้วิธีการอัดแบบเต็มเซลล์

คุณสมบัติของยารักษาเนื้อไม้
1.ปลอดภัย หรือเป็นอันตราบต่อผู้ใช้น้อยทีสุด
2.มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นพิษกับตัวการทำลายไม้
3.คงทน อยู่ในเนื้อไม้ได้นาน
4.ค่าใช้จ่ายไม่สูง คุ้มกับความต้องการรักษาเนื้อไม้

ขั้นตอนในการทำสี และ ตกแต่งผิวไม้ ขั้นตอน ในการทำสีและตกแต่งผิว จะต้องพิถีพิถัน  พื้นผิวต้องสะอาด ขัดผิวอย่างดี ปราศจากรอยตำหนิ  ขั้นตอนการทำสีและตกแต่งผิวมีหลายแบบ ดังนี
- การย้อมสีด้วยน้ำยา วู๊ดสเตน ป้องกันแสงแดด และน้ำซึมเข้าเนื้อไม้
- การตกแต่งผิวด้วยน้ำยา  วาร์นิช แล็กเกอร์ เชลแลก เพื่อขับลายไม้
ขั้นตอนการเตรียมผิวก่อนทาน้ำยา
ก่อนจะทาน้ำยา ต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบ  วัสดุที่นำมาเตรียมพื้นผิวควรใช้ให้เหมาะสมได้แก่  

ดินสอพอง  มีลักษณะดินสีขาว เป็นก้อนหรือเป็นผง ผสมกับน้ำเพื่อให้นิ่ม  ใช้อุดร่องเสี้ยน หรือลงพื้น
สารกันซึมหรือซีลเลอร์  ใช้เคลือบรองพื้นวัสดุที่มีรูพรุน หรือใช้เคลือบวัสดุที่อาจปล่อยสารบางประเภท ออกมาทำให้ฟิลม์ของวัสดุเคลือบเสียหาย สารกันซึมถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เดิมช่างใช้เชลแล็กเป็นตัวเคลือบผิว
ฟิลเลอร์  ทำ หน้าที่คล้อยดินสอพองอุดร่องไม้และอุดรอยแตกต่างๆ สามารถผสมกับสีย้อม สีฝุ่น ดินสี เพื่อให้ได้สีตามต้องการ สามารถขัดถูด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวเรียบได้ง่าย


ขั้นตอนการเลือกใช้วัสดุพื้นผิว มื่อเตรียมพื้นผิวได้ดีแล้ว ก็เลือกใช้วัสดุเคลือบผิวที่จะทำให้ไม้สวยงามและทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ ได้แก่
 แลกเกอร์  มีทั้งชนิดเงาและด้าน  ใช้งานง่าย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ และการขูดขีด
 เชลแล็ก เป็นน้ำยาทาไม้ชนิดหนึ่งให้ความสวยงาม ทนทา
วาร์นิช หรือน้ำมันชักเงา ใช้ทาชิ้นงานเพื่อให้เกิดเงางาม ใส สวยงาม มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน

การถนอมรักษาไม้ไผ่ด้วยวิธีเคมี

การถนอมรักษาไม้ไผ่ด้วยวิธีเคมี PDF พิมพ์ ส่งเมล

  เป็นการใช้สารเคมีอาบ หรืออัดเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ เป็นวิธีที่สามารถรักษาเนื้อไม้ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าวิธี ธรรมชาติ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้คือ
 1.การชุ่ม จุ่ม และทา
วิธี การเหล่านี้เป็นการป้องกันผิวนอกของไม้ไผ่ซึ่งเป็นการป้องกันชั่วคราวก่อนนำ ไปทำการป้องกันอย่างจริงจังอีกครั้ง หรือใช้กับไม้ไผ่ที่ใช้ในสถานที่ที่ไม่มีอันตรายจากแมลงมากนัก เช่น ทำของใช้ภายในบ้าน ก็สามารถรักษาเนื้อไม้ได้นานพอสมควร ตัวยาที่ใช้มีหลายชนิด เช่น ดีลครินร้อยละ 0.05 หรืออัลครินร้อยละ 0.15 ละลายในน้ำ จะสามารถรักษาเนื้อไม้ได้นานกว่า 1 ปี ดีดีที ร้อยละ 7 – 10 ละลายในน้ำมันก๊าด ก็สามารถใช้ได้ผลดีเช่นกัน
ในการจุ่มนั้น ปกติจะใช้เวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่นาที ซึ่งดีกว่าวิธีพ่นที่สิ้นเปลืองน้อยกว่า ในเปอร์โตริโก ใช้ไม้ไผ่สดและไผ่แห้งจุ่มในน้ำยาดีดีทีความเข้มข้นร้อยละ 5 ผสมในน้ำมันก๊าดนานประมาณ 10 นาที จะป้องกันเนื้อไม้ได้นานถึง 1 ปี แต่ถ้าแช่ให้นานขึ้นจะสามารถทนทานได้นานถึง 2 – 21/2  ปี ส่วนในอินเดียวมีการใช้ตัว 3 สูตรเปรียบเทียบกัน คือ โซเดียวมเพนตาคอลโรพิเนต ร้อยละ 1 ละลายน้ำบอแรกซ์ กรดบอริก อัตราส่วน 1:1 ร้อยละ 2 ละลายน้ำ และแอลิค คิวปริก โครเมต (ACC) ร้อยละ 5 ละลายน้ำ ปรากฏว่าสูตรแรกสามารถกันมอดได้ดีที่สุดเรียงตามลำดับถึงสูตรที่สาม
การ แช่น้ำ ปกตินานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันขึ้นไป วิธีการนี้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือเสียเวลานาน ไม้ไผ่สดถ้าแช่น้ำยาจะใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ในการดูดซึมน้ำยาซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ อายุ และความหนาของไม้ ถ้าเป็นไม้ที่ผ่าแล้ว จะลดเวลาลงได้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ การอุ่นน้ำยาให้ร้อนขึ้น การทุบข้อหรือการทะลวงปล้อง ก็ทำให้ลดเวลาในการแช่ลงได้เช่นกัน และจากการทดลอง ปรากฏว่าไม้สั้นน้ำยาจะเข้าทางปลายไม้ได้ดี ส่วนไม้ยาวการผ่าจะได้ผลดีกว่าไม้ที่ไม่ผ่า
2.       การอัดน้ำยา
เป็นวิธีการรักษาเนื้อไม้ที่ดีที่สุด เนื่องจากตัวยาสามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าวิธีอื่น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีคือ
1. การ อาบโคน (Stepping) เหมาะสำหรับกรณีที่มีไม้ไผ่จำนวนไม่มากนักแต่ต้องเป็นไม้ไผ่สด ตัดใหม่ ๆ ยังมีกิ่งก้านและใบติดอยู่ ซึ่งเหมาะสำหรับการอาบน้ำยาไม้ในสถานที่ตัด มีวิธีปฏิบัติโดยนำน้ำยารักษาเนื้อไม้ใส่ภาชนะที่มีความลึก 30 – 60 เซนติเมตร ไม้ไผ่จะดูดน้ำยาเข้ามาแทนที่ ระยะเวลาการอาบน้ำยาวิธีนี้จะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ไผ่ ความยาว ดินฟ้าอากาศ และชนิดของน้ำยาที่ใช้
2. การสวมปลอกหัวไม้ (Capping) เป็นการอัดน้ำยาไม้ไผ่สด ที่ตัดกิ่งก้านออกแล้วสามารถทำได้ง่ายโดยใช้ยางในจักรยานยาวพอใส่น้ำยาได้ ข้างหนึ่งสวมเข้าที่โคนไม้ไผ่ใช้เชือกรัดกันน้ำยาซึมออก ส่วนยางในด้านที่เหลือใช้กรอกน้ำยาเข้าไป แล้วนำไปแขวนให้ส่วนโคนสูงกว่าด้านปลาย วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับไม้ไผ่สดมากกว่าไม้ไผ่แห้ง เพราะน้ำธรรมชาติในไม้ไผ่เมื่อซึมออกจะดูดน้ำยาเข้าแทนที่
3. วิธีการ อาบน้ำยาร้อน-เย็น (Hot and Cold Bath) สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ใช้ความดันและไม่ใช้ความดัน ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันคือ การใช้ความดัน สามารถทำได้รวดเร็วและเป็นจำนวนมาก แต่ก็เสียค่าใช้จ่ายมาก ส่วนวิธีหลังนั้นเสียค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ใช้ระยะเวลานานกว่าวิธีแรก โดยการอาบน้ำยาที่ไม่ใช้แรงดันนั้น ใช้วิธีการใส่ไม้ไผ่ที่แห้งแล้วในน้ำยาที่มีอุณหภูมิประมาณ 90 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชั่วโมง ความร้อนจะไล่อากาศออกมา แล้วปล่อยให้เย็นลงอากาศที่หดตัวในเนื้อไม้จะดูดน้ำยาเข้าไปแทนที่
4. วิธี บูเชรี (Bucherie Process) เป็นวิธีง่าย ๆ อาศัยแรงดันของน้ำตามธรรมชาติ หรือแรงโน้มถ่วงของโลกนำน้ำยาเข้าไปในเนื้อไม้ โดยตั้งถังน้ำยาสูงประมาณ 10 เมตร แล้วต่อท่อสวมที่โคนไม้สดด้วยท่อ รัดรอบโคนไม้ แรงดันของน้ำยาสูง 10 เมตรจะช่วยดันน้ำยาจากโคนถึงปลายไม้ในเวลาไม่นานนัก วิธีนี้อาจดัดแปลงมาใช้ถังน้ำยาที่อัดลมก็ได้
5. วิธีใช้แรงอัด (Pressure Treatment) เหมาะสำหรับไม้ไผ่แห้ง จะผ่าหรือไม่ผ่าก็ได้ จะให้ผลดีที่สุดเมื่อไม้ไผ่มีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 20 ไม้ไผ่ที่ไม่ได้ผ่าเมื่อนำมาอัดน้ำยาอาจจะแตกหรือระเบิดออกได้ ซึ่งอาจแก้ไขโดยการเจาะรูระหว่างปล้องก่อน ซึ่งนอกจากจะไม่แตกแล้ว ยังทำให้อัดน้ำยาได้ทั่วถึงด้วย วิธีนี้ต้องขนไม้ไผ่ไปยังโรงงาน แรงดันนั้นไม่ควรจะสูงเกินไปเพื่อป้องกันไม้ไผ่แตก ซึ่งจากการทดลองของผจญ สินทธิกัน (2527) อัดน้ำยาไม้ไผ่บง ความยาว 1.70 เมตร ใช้แรงดัน 1.4 – 1.8 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ใน 2 – 5 นาที ก็สามารถป้องกันการแตกได้

หมายเหตุ คัดลอกจากวิทยานิพนธ์ เทคนิคการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ไผ่ โดยนายทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

ไผ่รวก

 
 
ไผ่รวก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์     Thyrsostachys Siamensis Gambleฟ
ชื่อวงศ์  Gramineae
ชื่อสามัญ   -
ชื่อทางการค้า   -
ชื่อพื้นเมือง  ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะลอม (ชาน แม่ฮ่องสอน) ฮวก (ภาคเหนือ)

    
ขึ้นเป็นกอแน่น ลำต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน ที่ปลายลำมีเนื้อบาง ถ้าพบในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-7 ซม. ถ้าพบในที่แห้งแล้งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. ลำมีสีเขียวอมเทา ปล้องจะยาวประมาณ 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อจะหนา กาบหุ้มลำยาวประมาณ 22-28 ซม. กว้างประมาณ 11-20 ซม. กาบมักจะติดต้นอยู่นาน สีเป็นสีฟาง ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว มีร่องเป็นแนวเล็ก ๆ สอบขึ้นไปหาปลาย ซึ่งเป็นรูปที่ตัดเป็นลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยม อาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้ กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ ใบยอดกาบยาวประมาณ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า

                        รูปทรง (เรือนยอด)   -
                        ใบ    ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ยาว    7-22 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน เส้นลายใบ 4-6 เส้น ขอบใบสากและคม ก้านใบสั้น 0.5 ซม. ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ 2-3 อัน กาบใบแคบไม่มีขน นอกจากตามขอบอาจจะมีขนอ่อน  
                        ดอก  จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน   ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง  
                        หน่อ    หน่อใช้รับประทานได้ ที่นิยมคือใช้ทำซุปหน่อไม้
 
      
พบในบริเวณประเทศพม่า และไทย พบทุกภาคของประเทศไทย ชอบขึ้นในที่แล้ง หรือที่สูงบนภูเขา อากาศร้อน ไม่ชอบน้ำขัง ชอบดินระบายน้ำดี พบมากที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี 

    
  การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า   ไผ่รวกสามารถให้ผลผลิตเมล็ด ได้จำนวนมากในแต่ละปี การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจะได้กล้าปริมาณมาก เพราะเมล็ดไผ่รวก 1กิโลกรัมมีจำนวนเมล็ดมากถึง 50,300 เมล็ดและสามารถขยายพันธุ์โดยแยกเหง้าได้ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และได้ปริมาณจำกัด นอกจากนี้ยังสามารถทำการปักชำเหง้าค้างปีได้ ซึ่งเหง้าค้างปีเป็นเหง้าของกล้าไผ่อายุ 2-5 ปีที่งอกจากเมล็ดในสภาพธรรมชาติ เป็นเหง้าที่มีขนาดเล็ก มีปริมาณมาก การปักชำเหง้าค้างปีจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการแยกเหง้าขนาดใหญ่มาก และกล้าไผ่ที่ได้สามารถตั้งตัวและเจริญเติบโตได้เร็วกว่ากล้าที่เพาะจากเมล็ด ประมาณ 3 เท่า ซึ่งเมล็ดไม้ไผ่รวกส่วนมากจะสั้น หากเก็บไว้นานๆ เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงเรื่อยๆ เช่น เมล็ดที่เก็บไว้นานประมาณ 7 เดือน ในสภาพธรรมชาติเมื่อนำมาเพาะปรากฏว่าไม่งอกเลย ทั้งที่มีเมล็ดดีถึง 96 เปอร์เซ็นต์
  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก 
                        ดิน  -
                        ความชื้น -
                        แสง   -
  การปลูกดูแลบำรุงรักษา    หากพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในแปลงปลูกไม้ไผ่ ก็ควรใช้สารเคมี บางชนิดกำจัดเป็นคราว ๆ ไป สารเคมีที่นิยมใช้กำจัดโรคและแมลง ได้แก่พวก มาลาไธออน , เซฟวิน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้าก็สามารถกำจัดและป้องกันได้ หรือใช้จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ตัวห้ำ , ตัว เบียฬ เข้าทำลายโรคและแมลงด้วยกันเอง เช่น เมคโตสตีฟ ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งผสมน้ำพ่นตาม ใบ 
                       การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก   ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ  ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง   
                        วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม      ระยะเวลาที่เหมาะต่อการปลูกไผ่อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝนจึงลดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย  สำหรับ ระยะปลูกและจำนวนกล้าไผ่ต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 4 x 4 เมตร หรือประมาณ 100 กอต่อไร่ หลุมที่ปลูกมีขนาดประมาณ 30 x  30 x  50 เซนติเมตร ในการปลูกไผ่ขนาดเล็กควรรองก้น หลุมด้วยปุ๋ยคอกเพื่อช่วยให้มีการเจริญเติบโตดี และอัตราการรอดตายสูงขึ้นด้วย
  โรคและแมลง     แมลงประเภทเจาะไชหน่อและปล้องอ่อนได้แก่แมลงจำพวก ด้วง , ด้วงงวงปีกแข็ง , แมลงประเภทกัดกินใบและประเภทม้วนใบ เป็นแมลงที่ชอบกัดกินใบและม้วนใบ เพื่อเป็นที่หลบซ่อนตัว และเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้ ได้แก่ หนอนผีเสื้อกลางคืน , แมลงประเภท เจาะไชใบ ได้แก่ หนอนผีเสื้อขนาดเล็ก , แมลงประเภทเพลี้ยแป้ง ชอบเกาะอยู่ตามหน่ออ่อนหรือตามใบ อ่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยง
  อัตราการเจริญเติบโต    เมื่อเริ่มปลูกไผ่ในระยะแรกต้นไผ่จะยังไม่โต แต่จะแตกกิ่งก้านและ ใบเพื่อการสะสมอาหาร เมื่อสะสมอาหารเต็มที่แล้ว ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหน่ออ่อน ก็จะแตกตาจากเหง้าใต้ดิน แต่ยังมีขนาดเล็กกว่าขนาดปกติของไผ่ชนิดนั้น ซึ่งใช้ ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี เมื่อไผ่เจริญเติบโตเป็นกอเต็มที่แล้วก็จะแตกหน่อใหม่ทุกปี ขนาดของหน่ออ่อนจะโตเท่ากับลำ แม่ในกอ ไผ่ที่มีลำและกอขนาดใหญ่สามารถสะสมอาหารได้มากกว่า หน่อไผ่จะเจริญเติบโตตลอดวัน
 
                       การเก็บรักษา   ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีธรรมชาติและวิธีเคมี  วิธีธรรมชาติ คือ โดยการแช่น้ำและการใช้ ความร้อน  การแช่น้ำเป็นวิธีป้องกันมอดเจาะที่ทำกันแพร่หลายทั้งยังเป็นการถนอมรักษาไม้ไผ่อย่าง ง่าย ๆ แต่ได้ผลดีพอสมควร เพื่อให้แป้ง น้ำตาล  และสารละลายน้ำอื่น ๆ ถูกชะล้างออกไปจนแมลงไม่ สนใจใช้เป็นอาหาร วิธีนี้ทำได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำให้ท่วม ถ้าเป็นน้ำไหล ได้ยิ่งดี หรือแช่ในน้ำเค็มก็ได้ถ้าบริเวณนั้นไม่มีเพรียงอยู่ด้วย เพราะเพรียงจะเกาะไม้ไผ่ภายในระยะ เวลาอันสั้น นอกจากนี้ ถ้าน้ำไม่สะอาดพอก็จะทำให้ไม้ไผ่นั้นสกปรกตามไปด้วย ระยะเวลาการแช่น้ำ ไม้ไผ่สดแช่ตั้งแต่ 3 วันถึง 3 เดือน ส่วนไม้ไผ่แห้งจะได้ผลดีที่สุดต้องเพิ่มเวลาอีกไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์  การสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ไม้ไผ่จะต้องนำมาสกัดน้ำมันออกก่อนที่จะนำไปลงน้ำยาป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ เพื่อให้การลงน้ำยาได้ผลจริง ๆ ซึ่งประโยชน์จากการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ คือทำให้ไม้ ไผ่แข็งแรงทนทาน มีผิวภายนอกสวยงาม ก่อนนำไม้ไผ่ที่ตัดแล้วมาสกัดน้ำมัน ควรตั้งพิงเอาโคนขึ้น ข้างบน หรือวางกองบนม้านั่งในที่ร่ม เพื่อมิให้ไม้ไผ่แห้งเร็วเกินไป และควรผึ่งไว้ประมาณ 1 เดือน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้ 2 วิธี คือ ให้ความร้อนด้วยไฟและด้วยการต้ม ทั้ง 2 วิธีนี้เรียกว่า ทำ การผ่านให้ความร้อนดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "ไผ่สุก" ซึ่งมีประโยชน์ที่จะใช้ในการก่อสร้างและ อุตสาหกรรมประเภทศิลปะ เมื่อคำนึงถึงของการผ่านกรรมวิธีเพื่อรักษาเนื้อไม้นั้นแล้ว จึงเห็นว่าวิธีให้ ความร้อนด้วยไฟทำให้ไม้ไผ่แข็งแรงและแข็งแกร่ง โดยการเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟ ซึ่งอาจใช้ถ่านไม้ หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ระวังอย่าให้ไหม้ไฟ และรีบขัดน้ำมันที่เยิ้มออกจากผิวให้หมดเพราะเมื่อ เย็นลงแล้วจะเช็ดไม่ออก ส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนนั้นใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในอุณหภูมิ 120-130 องศาเซลเซียส การให้ความร้อนอาจกระทำซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ความร้อนกระจาย ได้ทั่วถึง เพราะการให้ความร้อนครั้งเดียวมาก ๆ อาจทำให้ไม้แตกได้  ส่วนการให้ความร้อนโดยการ ต้มจะทำให้เนื้อไม้ ไผ่อ่อนนุ่ม โดยการต้มในน้ำธรรมดาเท่านั้น ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เนื่องจาก วิธีนี้ความร้อนจะต่ำกว่าการสกัดความร้อนด้วยไฟ แต่ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจก็อาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัม หรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที หลังจากต้ม เสร็จแล้วให้รีบเช็ดน้ำมันที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นแล้วจะเช็ดไม่ออกจากนั้น ล้างน้ำให้สะอาดและทำให้แห้งต่อไป การรมควันไม้ไผ่ เป็นวิธีง่าย ๆ โดยการรมควันผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ด้วยกำมะถัน ในห้องที่ปิดสนิทประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้ในห้องอีก 1 วันจึงนำออกจำหน่ายหรือใช้ งานต่อไป หรือใช้รมควันด้วยหญ้าหรือฟางข้าวให้มีควันขึ้นสม่ำเสมอ วิธีนี้ต้องคอยระวังอย่าให้ ผลิตภัณฑ์ไหม้ไฟ ดังนั้น  จึงควรเลือกเอาวิธีที่พอเหมาะพอดีกับความประสงค์ที่จะใช้งาน ทั้งในแง่ ของการคุณภาพและขนาดของการผลิต  วิธีเคมี คือ เป็นการใช้สารเคมีอาบหรืออัดเข้าไปในเนื้อไม้ วิธี นี้สามารถรักษาเนื้อไม้ไผ่ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าวิธีธรรมชาติ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ โดยการจุ่ม ปกติจะใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่นาที ซึ่งดีกว่าวิธีทาหรือพ่น เพราะสิ้นเปลืองน้ำยาน้อย กว่า ใช้ได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยจุ่มในน้ำยาดีดีทีเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำมันก๊าดนานประมาณ 10 นาที จะป้องกันเนื้อไม้ไผ่ได้นานถึง 1 ปี แต่ถ้าจุ่มให้นานขึ้นจะสามารถทนได้ยาวนานถึง 2 - 2 1/2 ปี การอาบน้ำยาแบบนี้สำหรับไม้ไผ่ที่ใช้งานชั่วคราว ไม้ไผ่ที่ใช้ในที่ร่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทาสี เสร็จแล้วทาน้ำมันชักเงาทับอีกที  โดยการทา น้ำยาจะซึมเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่โดยผ่านทางผิวไม้ไผ่   จะ ซึมมากน้อยเพียงใดย่อมแล้วแต่ชนิดของไม้ไผ่ที่อาบน้ำยา สารเคมีที่ใช้สำหรับป้องกันมอดและแมลงมี ัดังนี้ คอปเพอร์ซัลเฟต จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 30 นาที , ซิงค์ซัลเฟต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , ลีดแอซีเตต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , บอแรกซ์ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซดา ไฟ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 6 นาที , สารส้ม จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 6 นาที , แนปทาลีนคลอไรด์ จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที , แพนทาโคลโรฟีโนล จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซเดียมคาร์ บอเนต จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที  โดยการแช่ด้วยน้ำยาเชลล์ไดรต์ วิธีนี้ง่ายและเสียค่าใช้จ่าย น้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือ เสียเวลานาน ส่วนผสมน้ำยาเชลล์ไดรต์ 3 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ไม้ไผ่ไว้ ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากแช่น้ำยาแล้วนำออกผึ่งแดดให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้งานต่อไป (ถ้าไม้ไผ่สด ต้องใช้เวลาแช่นานกว่าไม้ไผ่แห้ง 1 เท่าตัว)  โดยการฟอกขาว คือ ไม้ไผ่ที่ผ่านการให้ความร้อนและ สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว จะปรากฏเป็นสีเหลือง เมื่อต้องการให้ผิวไม้ไผ่เป็นสีขาวหรือย้อมสีให้สวย มีวิธี ปฏิบัติ ดังนี้  ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซค์ 40 กรัม โซเดียมซิลิเคต 4 กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 กรัม นำโซเดียมซิลิเคตผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำอุ่น 700 ซีซี และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ผสมให้ เข้ากัน นำไม้ไผ่ลงไปต้มในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นานประมาณ 20-40 นาที หลังจากนั้นผสม กรดแอซีติก 5 ซีซี กับน้ำ 500 ซีซี แช่ไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำ
                       การแปรรูป  นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน หรือใช้ในการตบแต่งบ้านเพราะไผ่รวกมีความสวยงามขึ้นเป็นกอ ลำเรียวเปลา ตรง กิ่งใบน้อย และอยู่เฉพาะตอนปลายของลำเท่านั้น ในด้านอุตสาหกรรมเหมาะสำหรับใช้ทำเยื่อกระดาษ เพราะเยื่อไม้ไผ่รวกมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ลำที่ยังสดอยู่สามารถนำมาดัดให้ตรงได้โดยใช้ความร้อน ลำไผ่รวกที่ผ่านการคัด ดัด ตรง และขัดผิวแล้ว มีการส่งเป็นสินค้าออกสำหรับเป็นไม้ค้ำพืชหน่อทางการเกษตร เช่น องุ่น หน่อเมื่อปอกทำความสะอาดหน่อแล้ว ต้มอัดใส่ปี๊บทำให้มีการทำหน่อไม้ปี๊บออกจำหน่ายปีละหลายร้อยล้านบาทจากป่าต่าง ๆ ทั่วประเทศ 

                       การตลาด  -
                       การบริโภค  -
                       การนำเข้า -
                       การส่งออก  -


                     
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้  -

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์   -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์  -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ  -
                      การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร -
 
   
การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย  หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น 

    

ไม้ไผ่

 สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การแช่น้ำและการใช้ความร้อน ทั้งนี้เพื่อทำลายสารต่าง ๆ ในเนื้อไม้ที่อาจเป็นอาหารของแมลงต่าง ๆ เช่น แป้งและน้ำตาลให้หมดไป แต่วิธีดังกล่าวนี้เป็นเพียงการรักษาเนื้อไม้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะสารอาหารต่าง ๆ ในเนื้อไม้มิได้ถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น จึงอาจถูกทำลายจากแมลงต่าง ๆ ได้อีก โดยแต่ละวิธีสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. การแช่น้ำ

เป็น การถนอมรักษาไม้ไผ่อย่างง่าย ๆ แต่ได้ผลดีพอสมควร เนื่องจากน้ำจะชะล้างแป้ง น้ำตาล และสารละลายอื่น ๆ จนแมลงไม่สนใจใช้เป็นอาหาร สามารถใช้ได้ทั้งไม้ไผ่สด และไม้ไผ่แห้ง โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำจนมิด ถ้าเป็นน้ำไหลยิ่งดี หรือในน้ำเค็มบริเวณที่ไม่มีเพรียงอยู่ก็ได้ น้ำที่ไม่สะอาดจะทำให้ไม้ไผ่สกปรกตามไปด้วย ระยะเวลาแช่น้ำสำหรับไม้ไผ่สดนั้น ตั้งแต่สามวันจนถึงสามเดือน แต่ถ้าเป็นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มเวลาอีกไม่น้อยกว่าสิบห้าวันจึงจะได้ผลดีที่ สุด


2. การใช้ความร้อนหรือการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่

มี ลักษณะเช่นเดียวกับการนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำ เพื่อทำลายสารประกอบในเนื้อไม้ไผ่ที่อาจเป็นแหล่งอาหารของแมลงและเชื้อรา ต่าง ๆ ได้ ทำให้เนื้อไม้แห้งและมีความแข็งแรงทนทานขึ้น

น้ำมันของ ไม้ไผ่จะถูกสกัดออก ก่อนที่จะนำไปอาบน้ำยาป้องกันแมลง ฟอกขาว และย้อมสี ทั้งนี้เพื่อให้การอาบน้ำยาได้ผลจริง ๆ ยิ่งกว่านั้นจะได้ประโยชน์จากการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ คือทำให้ไม้ไผ่แข็งแรงทนทาน ทำให้ผิวภายนอกสวยงามและยังเป็นการรักษาเนื้อไม้ไผ่ไม่ให้เสียหายจากแมลงและ ทำให้มีความแห้งมากขึ้น หรือเป็นการทำให้สารประกอบในเนื้อไม้ไผ่ที่จะเกิดการเน่าได้กลับกลายเป็น กลางไปเสีย
ไม้ไผ่ที่ตัดมาแล้วก่อนนำมาสกัดน้ำมัน ควรตั้งพิงเอาโคนขึ้นข้างบนหรือวางกองบนร้านในที่ร่ม เพื่อป้องกันมิให้เหี่ยวแห้งเร็วเกินไป และควรผึ่งไว้ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากที่ได้ตัดมาแล้ว จึงเอามาอาบน้ำยาเพื่อลบรอยจุดต่าง ๆ ที่ปรากฏบนผิวภายนอกของลำ

การ สกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ สามารทำได้ 2 วิธี คือให้ความร้อนด้วยไฟ และด้วยการต้ม หรือเรียกว่าวิธีแห้งและวิธีเปียก ไม้ไผ่ที่สกัดน้ำมันออกแล้วเรียกกันว่า "ไม้ไผ่สุก" มีประโยชน์ที่จะใช้ในการก่อสร้างและอุตสาหกรรมประเภทศิลปะ และเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไปตามวิธีการสกัดน้ำมัน วิธีให้ความร้อนด้วยไฟทำให้เนื้อไม้แข็งแรงและแกร่ง ส่วนการให้ความร้อนด้วยการต้มทำให้เนื้อไม้อ่อนนุ่ม ดังนั้นจะสกัดน้ำมันด้วยวิธีใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. การ สกัดน้ำมันด้วยไฟ วิธีนี้เอาไม้ไผ่เข้าปิ้งในเตาไฟ ซึ่งอาจจะใช้ถ่านไม้หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ระวังอย่าให้ไหม้ไฟ และรีบเช็ดน้ำมันที่เยิ้มออกมาจากผิวไม้ไผ่ทั้งหมด เพราะเมื่อเย็นลงแล้วจะเช็ดไม่ออก ส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนนั้นแตกต่างกันไปตามชนิดและความหนา ของไม้ไผ่ แต่โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาประมาณ 20 นาที และมีอุณหภูมิประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส การให้ความร้อนนั้น อาจกระทำซ้ำอีกครั้งได้เพื่อให้ความร้อนกระจายอย่างทั่วถึง เพราะการให้ความร้อนครั้งเดียวมาก ๆ อาจทำให้ไม้แตกได้

2. การสกัด น้ำมันด้วยการต้ม วิธีนี้ต้มในน้ำธรรมชาติเท่านั้น ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เนื่องจากวิธีนี้ความร้อนต่ำกว่าการสกัดความร้อนด้วยไฟ แต่ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ ก็อาจใช้สารเคมีเข้าช่วยด้วย โดยใช้โซดาไฟหรือโซเดียมคาร์บอเนตจำนวน 10.3 กรัม หรือ 15 กรัม ตามลำดับละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ใช้เวลาต้อมประมาณ 15 นาที หลังจากต้มเสร็จแล้วให้รีบเช็ดน้ำมันที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นลงแล้วจะเช็ดไม่ออก และนำไม้ไผ่ที่สกัดน้ำมันออกแล้วไปล้างน้ำให้สะอาด และทำให้แห้งต่อไป
จาก วิทยานิพนธ์ เทคนิคการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ไผ่ โดยนายทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม้ไผ่

ไม้ไผ่

         ไม้ไผ่ เป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิต ประจำวัน ในขณะที่โลกปัจจุบันเป็นเรื่องของพลาสติกและเหล็ก แต่ก็ยังมีโครงการร่วมมือค้นคว้า เรื่องไม้ไผ่ระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการในการใช้ไม้ไผ่ซึ่งกันและกันในประเทศลาตินอ เมริกัน 6 ประเทศ ในขณะนี้ได้มีโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อจะหาชนิดของไม้ไผ่ที่ดีที่สุดจากภาค ต่าง ๆ ทั่วโลก
         ไม้ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae เช่นเดียวกับหญ้าแต่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก และเป็นพืชเมืองร้อน ไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการก่อสร้างไม้นั่งร้านทาสีฉาบปูน ใช้จักสานภาชนะต่าง ๆ ใช้ทำเครื่องดนตรี ใช้เป็นเยื่อกระดาษในอุตสาหกรรมทำกระดาษ ทำเครื่องกีฬา ใช้เป็นอาวุธ เช่น คันธนู หอก หลาว ใช้เป็นเครื่องอุปกรณ์การประมง เช่น ทำเสาโป๊ะ ทำเครื่องมือในการเกษตร นอกจากนั้นใบยังใช้ห่อขนม หน่อไผ่ใช้เป็นอาหารอย่างวิเศษ และกอไผ่ยังใช้ประดับสวนได้งดงาม ไม่ไผ่ทั่วโลกที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล ที่ได้สำรวจพบในเมืองไทยมีประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด
ชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ควรทราบ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีดังต่อไปนี้
ภาพ:ไม้ไผ่.png
        1. ไผ่ตง (D.asper) เป็นไผ่ในสกุล Dendrocalamus นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรงดี ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี
         2. ไผ่สีสุก (B.flaxuosa) อยู่ในสกุล Bambusa ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้ลำต้น เขียวสดเป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดี ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง เช่น นั่งร้านทาสี นั่งร้านฉาบปูน
         3. ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus) อยู่ในสกุล Dendrocalamus มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในงานก่อสร้างได้ดี
         4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea) อยู่ในสกุล Bambusa มีทั่วทุกภาคของประเทศต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร ใช้ทำโครงบ้าน ใช้ทำนั่งร้าน
         5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.) อยู่ในสกุล Bambusa มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตรปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง จักสาน
         6. ไผ่เฮียะ (C.Virgatum) อยู่ในสกุล Cephalastachyum มีทางภาคเหนือ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน
         7. ไผ่รวก (T. siamensis) อยู่ในสกุล Thyrsostachys มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะเป็นกอ ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ ไม้รวกที่ส่งออกขายต่างประเทศ เมื่อทำให้แห้งดีแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำมันโซลาเพื่อกันแมลง น้ำมันโซลา 20 ลิตร จะอาบไม้รวกได้ประมาณ 40,000 ลำ
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์มีอยู่ประมาณ 32 ชนิด ดังแสดงในตารางที่ 1.8
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์
ภาพ:ตาราง.png
การทำให้ไม้ไผ่คงทน
         ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั้น ตัดมาใช้ได้เมื่อไม้ไผ่อายุ 3-5 ปี แต่ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขกำจัดแมลงและเชื้อราแล้ว ไม้ไผ่ที่อยู่ติดดินอาจมีอายุใช้งานประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น แต่ถ้าใช้ในที่ร่มและจากดินอายุอาจจะใช้งานถึง 5 ปี ไม้ไผ่อาจถูกรบกวนทำลายโดยมอดและปลวก เพราะมีอาหารในเนื้อไม้ นอกจากนั้นอาจถูกทำลายโดยเชื้อรา และถ้าใช้ในน้ำทะเลก็อาจถูกทำลายโดยเพรียงได้ การรักษาให้ไม้ไผ่มีอายุยืนนานนั้นอาจทำได้ต่าง ๆ กันดังนี้
         1. วิธีแช่น้ำ การแช่น้ำก็เพื่อทำลายสารในเนื้อไม้ที่มีอาหารของแมลงต่าง ๆ เช่น พวกน้ำตาล แป้ง ให้หมดไป การแช่ต้องแช่ให้มิดลำไม้ไผ่ เป็นน้ำไหลซึ่งมีระยะเวลาแช่น้ำสำหรับไม้สดประมาณ 3 วัน ถึง 3 เดือนแต่ถ้าเป็นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มอีกประมาณ 15 วัน วิธีใช้ความร้อน หรือการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ก่อนนำมาสกัดน้ำมันควรตั้งพิงเอาส่วนโคนไว้ตอนบน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้โดยให้ความร้อนด้วยไฟหรือต้ม
         2. วิธีการสกัดน้ำมันด้วยไฟจะทำให้เนื้อไม้มีลักษณะแกร่ง ส่วนมากสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นเนื้อไม้จะอ่อนนุ่มการสกัดน้ำมันด้วยไฟ นั้นทำโดยเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟต่อย่าให้ไหม้และรีบเช็ดน้ำมันที่เยิ้มออกมา จากผิวไผ่ให้หมดระยะเวลาการปิ้งประมาณ 20 นาที อุณหภูมิประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส การสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นใช้ต้มในน้ำธรรมดาใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัมหรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ใช้เวลาต้มประมาณ 15 นาที หลังจากต้มแล้วให้รีบเช็ดน้ำที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นลงจะเช็ดไม่ออกแล้วจึงนำไม้ไผ่ที่สกัดน้ำมันออกไปแล้วล้างน้ำ ให้สะอาดและทำให้แห้ง
         3. การใช้สารเคมี วิธีที่จะได้ผลดีกว่าการปิ้งหรือต้ม ซึ่งอาจทำได้ทั้งวิธีชุบหรือทาน้ำยาลงไปที่ไม้ไผ่หรือจะโดยวิธีอัดสารเคมี เข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ วิธีชุบนั้นใช้เวลาประมาณ 10 นาที เช่น ชุบในน้ำยา DDT ที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำมันก๊าดจะทนได้นานถึง 1 ปี ถ้าชุบหรือแช่ให้นานขึ้นก็อาจทนได้ถึง 2 ปี หรืออาจใช้โซเดียมแพนตาคลอโรฟีเนต 1 เปอร์เซ็นต์ ละลายน้ำบอแรกซ์ ก็จะสามารถป้องกันมอดได้เป็นอย่างดี วิธีอัดน้ำยานั้นถ้าไม้ไผ่ไม่มากนักและเป็นไม้ไผ่สดทำโดยเอาน้ำยารักษาเนื้อ ไม้ใส่ภาชนะที่มีความลึกประมาณ40-60 เซนติเมตร เอาไม้ไผ่ลงแช่ทั้งที่มีกิ่งและใบ เมื่อใบสดระเหยน้ำออกไป โคนไม้ไผ่จะดูดน้ำยาเข้าแทนที่
         วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งที่จะอัดน้ำยาเข้าไม่ไผ่สดที่ตัดกิ่งก้านออกแล้ว ทำโดยนำยางในของรถจักรยานยาวพอสมควรแล้วใส่น้ำยาข้างหนึ่งสวมเข้าที่โคนไม้ ไผ่ใช้เชือกรัดกันน้ำยาออก ยกปลายยางข้างที่ไม่ได้กรอกน้ำยาให้สูงวิธีนี้ได้ผลดีกับไม้ไผ่สด วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งคือ ตั้งถังน้ำยาสูงประมาณ 10 เมตร แล้วต่อท่อสวมที่โคนไม้ไผ่สดด้วยท่อยางแล้วรัดไว้ไม่ให้น้ำยาไหลออกมาแรงดัน ของน้ำยาที่อยู่สูง 10 เมตร จะดันน้ำยาเข้าไปในไม้ไผ่
         การใช้ไม้ไผ่เสริมคอนกรีต ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล็กเสริมคอนกรีตขาดแคลนจึงได้มีผู้นำไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ แล้วใช้เสริมคอนกรีตแทนเหล็ก แม้ในปัจจุบันก็ยังมีผู้ใช้วิธีนี้อยู่
         ไม้ไผ่นั้นมีค่าพิกัดแห่งความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นวัสดุที่ยืดตัวมากกว่าเหล็กถึงประมาณ 14 เท่า เมื่อรับแรงเท่ากัน ไม้ไผ่ต้านแรงดึงได้ 13,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่ข้อและต้านแรงดึงได้ 17,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรที่ปล้อง เพราะเหตุที่ไม้ไผ่ดูดน้ำมาก เมื่อนำมาเสริมคอนกรีตแทนเหล็กเสริม ทำให้การยึดเกาะกับคอนกรีตต่ำ ถ้านำไม้ไผ่มาเสริมคอนกรีตขณะที่เทคอนกรีตซึ่งมีน้ำผลมอยู่ ไม้ไผ่จะพองตัว และต่อมาไม้ไผ่หดตัวลงเนื่องจากน้ำระเหยไป จะทำให้ไม้ไผ่ที่เสริมแยกตัวกับคอนกรีตที่หุ้มอยู่ ไม้ไผ่จึงไม่เหมาะสำหรับมาเสริมคอนกรีตโครงสร้าง แต่อาจใช้ได้สำหรับเสริมพื้นคอนกรีตที่ติดกับดินและไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก